วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วิธีเพาะเห็ดฟาง

Posted by   on

วิธีเพาะเห็ดฟาง


การเพาะเห็ดฟาง



สูตรและส่วนผสมที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟางมีทั้งหมด 2 สูตร 
โดยในสูตรแรกนั้นมีชื่อเรียกว่า สูตรฟางข้าว โดยสูตรนี้จะกระกอบไปด้วย ฟางข้าว เป็นส่วนหลักตามชื่อของมันเลย โดยใช้ฟางข้าว 4 กิโลกรัม - EM(หัวเชื้อ)  10 cc - น้ำสะอาด 10 ลิตร - ขี้วัวแห้ง 2 กิโลกรัม - แป้งสาลี 1 ช้อนชา - เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง - ผักตบชวาสดหั่น 1 กิโลกรัม

โดยในสูตรที่สองนั้นมีชื่อเรียกว่า ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง ก็ตามชื่อสูตรเหมือนอันก่อนหน้าก็คงจะเดาได้ว่าส่วนประกอบหลักก็คือ ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง 3 กิโลกรัม - น้ำสะอาด 10 ลิตร - แป้งสาลี 1 ช้อนชา - เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง - ผักตบชวาสดหั่น 1 กิโลกรัม

โดยนี่จะเป็นวิธีการเตรียมการโดยใช้สูตรแรก
  1. หลังจากเตรียมของตามสูตรเสร็จแล้ว นำฟางข้าวแห้งแช่น้ำ ประมาณ 120 - 180 นาที หลังจากนั้นมากองบนพื้นซีเมนต์ หรือกองบนื้นอะไรก้ได้ที่ปูรองด้วยผ้าพลาสติก แล้วก็นำน้ำสะอาดมารดลงบนฟางข้าวให้มีความชื้นพอหมาดๆ แล้วก็ทิ้งไว้อีก 120 - 180 นาที เช่นเดิม
  2. หลังจากนั้นนำไปผสมกับขี้วัวแห้งคลุกเคล้าให้เข้ากันดีทั้งกอง นำ EM 10 cc ผสมกับน้ำสะอาด 10 ลิตร แล้วรดลงบนฟางข้าวหลังจากนั้นก็คลุกเคล้าให้ทั่วกัน
  3. คลุมกองวัสดุเหล่านั้นด้วยกระสอบป่าน หรือพลาสติด ทิ้งไว้ทั้งสิ้น 1  คืน
  4. คอยตรวจสอบคความชื้น ถ้ามีความชื้นประมาน 60-65 เปอร์เซ็น ก็จะสามารถนำไปเพาะเห็ดฟางได้เบยย

หลังจากนั้นก็จะถึงขั้นตอนเพาะเห็ดฟางในถุงหรือกระสอบอย่างแท้จริง เพราะในข้อ1-4 นั้นเป็นเพียงการเตรียมวัสดุเพาะเท่านั้น โดยจากนี้ เราต้องเตรียมทำเชื้อเห็ดฟาง โดยนำเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุงใส่กะละมัง ที่มีขนาด 3-5 ลิตร โดยย่อยเชื้อให้ละเอียด แล้วนำแป้งสาลีมาโรยลงบนเชื้อเห็ดฟาง โดยใช้อัตรา 1 ต่อ 1 เห็ด 1 ถุง ต่อ แป้งสาลี 1 ช้อนชา คลุกเคล้าให้เข้ากัน
ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนหลักจะมี 2 วิธี ให้เลือกใช้

วิธีแรก นำ วัสดุเพาะ อาหารเสริมซึ่งก็คือผักตบชวาหั่น และ เชื้อเห็ดฟางใส่ลงไปในกระสอบที่เตรียมไว้โดยคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดย 1 ถุง ควรมีน้ำหนักรวมประมาณ 5 กิโลกรัมเท่านั้น จากนั้นก็ทำให้เนื้อข้างในแน่น จะทำวิธีใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็นมือกด นั่งทับ ยกถุงกระแทกๆ หลังจากนั้นก็มัดปากถุงให้แน่นโดยมัดที่จุดที่สูงที่สุดของปากถุง นำไปตั้งในที่ที่คิดว่าเหมาะสม นานประมาน  9 วัน จะเริ่มมีดอกเห็ดขึ้นบนผิวของวัสดุภายในถุง

วิธีที่สอง ใส่วัสดุเพาะไว้ด้านล่าง ทำไงก็ได้ให้แน่น นั่งทับหรือ เอามือกดก็ได้ จากนั้นก็ใส่อาหารเสริมซึ่งก็คือผักตบชวาสดหั่นลงไป โดยวางเป็นชั้นเหนือวัสดุเพาะ จากนั้นก็ใส่เชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วใส่ผักตบชวาสดลงไปละก็ปิดปากด้านบนสุดให้แน่น และนำไปเพาะในพื้นที่ที่คิดว่าเหมาะสม

ที่
ระยะเวลา
การปฏิบัติดูแล
1
ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน
วันที่  1-4  ของการเพาะเห็ด
ในฤดูหนาว
วันที่  5-6  ของการเพาะเห็ด
1.  รักษาอุณหภูมิในสถานที่เพาะประมาณ  37-40  องศาเซลเซียส
2.  ดูแลความชื้นในสถานที่เพาะประมาณ  80%
     ข้อควรระวัง
1.  ตรวจดูพลาสติกที่บุภายในสถานที่เพาะไม่ให้ฉีกขาดหรือมีรูรั่ว
2.  ไม่ควรเปิดประตูสถานที่เพาะบ่อยครั้ง
3.  ป้องกันมด  ปลวก
2
ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน
วันที่  4  ของการเพาะเห็ด
1.  อาจเปิดปากถุงเพื่อระบายอากาศประมาณ  2  ชั่วโมง  
     เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟางได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
2.  อาจรดน้ำด้วยบัวชนิดฝอย  เพื่อตัดเส้นใยเห็ดฟาง  
     เพื่อเร่งการพัฒนาให้เป็นดอกเห็ดมากขึ้น
3
ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน
วันที่  5-8  ของการเพาะเห็ด
ในฤดูหนาว
วันที่  7-12  ของการเพาะเห็ด
1.  ควรรดน้ำลงบนพื้นสถานที่เพาะรอบ ๆ ถุงเพาะเห็ดให้มีความชื้นอยู่เสมอ
2.  ควบคุมอุณหภูมิให้ได้ประมาณ  28-32  องศา  
     เซลเซียส
3.  ตรวจสอบดูว่าเกิดดอกเห็ดหรือยัง  ต้องกะเวลาเก็บ
     ดอกเห็ดให้ดี
4
ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน
วันที่  8-10  ของการเพาะเห็ด
1.  ช่วงนี้หมั่นสังเกตว่าดอกเห็ดที่เกิดขึ้นถึงระยะเก็บ
     เกี่ยวได้ หรือยัง  และควรเก็บตอบเช้ามืด

ไม่มีความคิดเห็น:
Write ความคิดเห็น