วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วิธีเพาะเห็ดฟาง

วิธีเพาะเห็ดฟาง


การเพาะเห็ดฟาง



สูตรและส่วนผสมที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟางมีทั้งหมด 2 สูตร 
โดยในสูตรแรกนั้นมีชื่อเรียกว่า สูตรฟางข้าว โดยสูตรนี้จะกระกอบไปด้วย ฟางข้าว เป็นส่วนหลักตามชื่อของมันเลย โดยใช้ฟางข้าว 4 กิโลกรัม - EM(หัวเชื้อ)  10 cc - น้ำสะอาด 10 ลิตร - ขี้วัวแห้ง 2 กิโลกรัม - แป้งสาลี 1 ช้อนชา - เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง - ผักตบชวาสดหั่น 1 กิโลกรัม

โดยในสูตรที่สองนั้นมีชื่อเรียกว่า ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง ก็ตามชื่อสูตรเหมือนอันก่อนหน้าก็คงจะเดาได้ว่าส่วนประกอบหลักก็คือ ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง 3 กิโลกรัม - น้ำสะอาด 10 ลิตร - แป้งสาลี 1 ช้อนชา - เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง - ผักตบชวาสดหั่น 1 กิโลกรัม

โดยนี่จะเป็นวิธีการเตรียมการโดยใช้สูตรแรก
  1. หลังจากเตรียมของตามสูตรเสร็จแล้ว นำฟางข้าวแห้งแช่น้ำ ประมาณ 120 - 180 นาที หลังจากนั้นมากองบนพื้นซีเมนต์ หรือกองบนื้นอะไรก้ได้ที่ปูรองด้วยผ้าพลาสติก แล้วก็นำน้ำสะอาดมารดลงบนฟางข้าวให้มีความชื้นพอหมาดๆ แล้วก็ทิ้งไว้อีก 120 - 180 นาที เช่นเดิม
  2. หลังจากนั้นนำไปผสมกับขี้วัวแห้งคลุกเคล้าให้เข้ากันดีทั้งกอง นำ EM 10 cc ผสมกับน้ำสะอาด 10 ลิตร แล้วรดลงบนฟางข้าวหลังจากนั้นก็คลุกเคล้าให้ทั่วกัน
  3. คลุมกองวัสดุเหล่านั้นด้วยกระสอบป่าน หรือพลาสติด ทิ้งไว้ทั้งสิ้น 1  คืน
  4. คอยตรวจสอบคความชื้น ถ้ามีความชื้นประมาน 60-65 เปอร์เซ็น ก็จะสามารถนำไปเพาะเห็ดฟางได้เบยย

หลังจากนั้นก็จะถึงขั้นตอนเพาะเห็ดฟางในถุงหรือกระสอบอย่างแท้จริง เพราะในข้อ1-4 นั้นเป็นเพียงการเตรียมวัสดุเพาะเท่านั้น โดยจากนี้ เราต้องเตรียมทำเชื้อเห็ดฟาง โดยนำเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุงใส่กะละมัง ที่มีขนาด 3-5 ลิตร โดยย่อยเชื้อให้ละเอียด แล้วนำแป้งสาลีมาโรยลงบนเชื้อเห็ดฟาง โดยใช้อัตรา 1 ต่อ 1 เห็ด 1 ถุง ต่อ แป้งสาลี 1 ช้อนชา คลุกเคล้าให้เข้ากัน
ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนหลักจะมี 2 วิธี ให้เลือกใช้

วิธีแรก นำ วัสดุเพาะ อาหารเสริมซึ่งก็คือผักตบชวาหั่น และ เชื้อเห็ดฟางใส่ลงไปในกระสอบที่เตรียมไว้โดยคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดย 1 ถุง ควรมีน้ำหนักรวมประมาณ 5 กิโลกรัมเท่านั้น จากนั้นก็ทำให้เนื้อข้างในแน่น จะทำวิธีใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็นมือกด นั่งทับ ยกถุงกระแทกๆ หลังจากนั้นก็มัดปากถุงให้แน่นโดยมัดที่จุดที่สูงที่สุดของปากถุง นำไปตั้งในที่ที่คิดว่าเหมาะสม นานประมาน  9 วัน จะเริ่มมีดอกเห็ดขึ้นบนผิวของวัสดุภายในถุง

วิธีที่สอง ใส่วัสดุเพาะไว้ด้านล่าง ทำไงก็ได้ให้แน่น นั่งทับหรือ เอามือกดก็ได้ จากนั้นก็ใส่อาหารเสริมซึ่งก็คือผักตบชวาสดหั่นลงไป โดยวางเป็นชั้นเหนือวัสดุเพาะ จากนั้นก็ใส่เชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วใส่ผักตบชวาสดลงไปละก็ปิดปากด้านบนสุดให้แน่น และนำไปเพาะในพื้นที่ที่คิดว่าเหมาะสม

ที่
ระยะเวลา
การปฏิบัติดูแล
1
ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน
วันที่  1-4  ของการเพาะเห็ด
ในฤดูหนาว
วันที่  5-6  ของการเพาะเห็ด
1.  รักษาอุณหภูมิในสถานที่เพาะประมาณ  37-40  องศาเซลเซียส
2.  ดูแลความชื้นในสถานที่เพาะประมาณ  80%
     ข้อควรระวัง
1.  ตรวจดูพลาสติกที่บุภายในสถานที่เพาะไม่ให้ฉีกขาดหรือมีรูรั่ว
2.  ไม่ควรเปิดประตูสถานที่เพาะบ่อยครั้ง
3.  ป้องกันมด  ปลวก
2
ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน
วันที่  4  ของการเพาะเห็ด
1.  อาจเปิดปากถุงเพื่อระบายอากาศประมาณ  2  ชั่วโมง  
     เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟางได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
2.  อาจรดน้ำด้วยบัวชนิดฝอย  เพื่อตัดเส้นใยเห็ดฟาง  
     เพื่อเร่งการพัฒนาให้เป็นดอกเห็ดมากขึ้น
3
ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน
วันที่  5-8  ของการเพาะเห็ด
ในฤดูหนาว
วันที่  7-12  ของการเพาะเห็ด
1.  ควรรดน้ำลงบนพื้นสถานที่เพาะรอบ ๆ ถุงเพาะเห็ดให้มีความชื้นอยู่เสมอ
2.  ควบคุมอุณหภูมิให้ได้ประมาณ  28-32  องศา  
     เซลเซียส
3.  ตรวจสอบดูว่าเกิดดอกเห็ดหรือยัง  ต้องกะเวลาเก็บ
     ดอกเห็ดให้ดี
4
ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน
วันที่  8-10  ของการเพาะเห็ด
1.  ช่วงนี้หมั่นสังเกตว่าดอกเห็ดที่เกิดขึ้นถึงระยะเก็บ
     เกี่ยวได้ หรือยัง  และควรเก็บตอบเช้ามืด

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การเพาะเห็ดฟาง

     เห็ดฟางเป็นอาหารยอดนินมของคุนในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยในหนึ่งปีนั้นมีการเพาะเห็ดฟางไม่น้อยกว่า หกหมื่นตัน โดยตีเป็นมูลค่าได้ประมาณ สามพันล้านบาท แต่ถึงกระนั้นทั้งที่ผลิตออกมาได้มากขนาดนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนในประเทศ เพราะเห็ดฟางนั้น มีราคาที่ไม่แพง มีตุณค่าทางโภชนาการสุง เพราะมีทั้ง วิตามิน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน และโปรตีน และนอกจากนี้ยังเป้นที่นิมยมในการเอาไปประกอบอาหารหลายชนิด จึงไม่แปลกเลยที่ทำให้การเพาะเห็ดฟางเป็นที่นิยมในประเทศไทย


การเพาะเห็ดฟาง




     นอกจากเหตุผลในด้านบนที่ทำให้คนไทยนิยม เพาะเห็ดฟางแล้ว ยังมีอีกหลายเหตผลเช่น เห็นฟางเป็นเห็ดที่ใช้เวลาในการเพาะปลูกน้อยเมื่อเทียบกับเห็ดชนิดอื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะเริ่มเพาะกันในหลัง ฤดูทำนา ในปัจจุบันนั้นการเพาะเห็ดฟางนั้นส่วนใหญ่จะเป็น การ"เพาะเห็ดฟางในถุงปุ๋ย” หรือ "เพาะเห็ดฟางในตะกร้า” เพราะการเพาะเห็ดฟางแบบนี้ มีการดูแลรักษาที่ง่าย

ของที่ต้องเตรียมในการเพาะเห็ดฟาง
     ตามชื่อแหละครับ เป็นเห็ดฟาง ก็ต้องใช้ ฟางเนาะ แต่ในความเป็นจริงแล้วนอกจากฟางเรายังใช้อย่างอื่นแทนได้อีกมากมาย ทั้ง ฟางข้าว เปลือกถั่ว (เปลือกถั่วของฝักถั่วเหลือ ถั่วลิสง หรือถั่วเขียว) ขี้ฝ้าย (1. ขี้ฝ้ายปึก เป็นขี้ฝ้ายเบาละเอียดนำมาผสมกับเปลือกถั่วเขียวหรือขี้ฝ้ายคอก ในอัตรา 1:1 2.ฝ้ายขี้ดอก เป็นขี้ฝ้ายที่อยู่ใต้เครื่อง) ผักตบชวา (ใช้ได้ทั้งต้น เน้นไปที่ต้นที่แก่ๆ นำมาสับเปนแนวเฉียง ขนาด1-2 ซม.) ชานอ้อย (คือส่วนของต้นอ้อยที่เอาไปบีบน้ำออกแล้ว) ไส้นุ่น (ส่วนแกนกลางของผลนุ่นที่นำเอาเมล็ดนุ่นและปุยออกไปแล้ว) ก้านกล้วยหรือใบตองแห้ง ต้นและใบข้าวโพด (ตีต้นข้าวโพดที่ได้หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วให้แตก แล้วนำไปแช่น้ำ1 คืน เป็นอันใช้ได้) กากเปลือกมันสำปะหลัง

     นอกจากของด้านบนแล้ว ยังมีอีกหลาอย่างที่ต้องใช้ในการปลูก กระสอบปุ๋ย กะละมัง บัวรดน้ำ ตะกร้าพลาสติก ผ้าพลาสติดได้ทั้งแบบสีหรือแบบใส สุ่มไก่ เชื้อเห็ดฟาง 
     ในการเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟางที่ดีนั้น โดยในถุงเลี้ยงเชื้อนั้นต้องไม่เปียก ต้องไม่มีน้ำเละที่ก้นถุง เลือกเชื้อที่ไม่อ่อนเกินไปโดยมีเส้นใยขาวฟูแต่ไม่เจริญถึงก้นถุง เส้นใยต้องไม่มีอายุมากเกินไปเชื้อในถุงไม่สาลายตัวเป็นสีเหลืองติดกันเป็นหยดๆ ไม่ควรซื้อถุงที่มีอายุเกิน 7 วัน ไม่ควรเก็บไว้ในตูเย็นหรือที่ที่มีอถณหภูมิร้อนเกิน 50 องศาเซลเซียส ถุงที่มีดอกเห็ดฟางขนาดเล็กๆอยู่เล็กน้อยก็ใช้ได้เห็นผลดี เชื้อในถุงต้องเกาะกันเป็นก้อน มีเส้นใยรวมกันแน่น ไม่แตก มีกลิ่นหอมแบบเห็ดฟาง และไม่เหม็นบูดหรือเหม็นเปรี้ยว



วิธีเพาะเห็ดฟาง